ประวัติความเป็นมา



ประวัติความเป็นมางานศิลปหัตถกรรมนักเรียน
                                งานศิลปหัตถกรรมได้เริ่มจัดมาตั้งแต่ พ.ศ. 2455 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6  โดยมีจุดมุ่งหมาย เพื่อจะแนะนำชักจูงให้เด็กชายหญิงในสมัยนั้น  ได้เอาใจใส่ฝึกหัดศิลปหัตถกรรม ซึ่งเป็นทางเลี้ยงอาชีพต่างๆ  เพื่อจะกันการที่เด็กทั้งหลายพากันนิยมในการเป็นเสมียนหรือ    เข้าทำราชการให้น้อยลง
                                การจัดงานศิลปหัตถกรรมนักเรียนมีการจัดต่อเนื่องกันตลอดมา  มีหยุดเว้นช่วงบ้าง เมื่อสถานการณ์บ้านเมืองไม่ปกติก็ตาม เปลี่ยนชื่องานไปก็หลายครั้งโดยทั่วไปนับว่าเป็นงานที่มีชื่อเสียงมาก         มาแต่ในอดีต นับถึงปัจจุบันเป็นเวลา 87 ปี  ซึ่งจะสรุปความเป็นมาของการจัดงานศิลปหัตถกรรมนักเรียน     พอสังเขป ดังนี้
                                ครั้งที่ 1  งานแสดงศิลปหัตถกรรมนักเรียน  จัดขึ้นเมื่อวันที่ 3 มกราคม  พ.ศ. 2455  ที่โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย  โดยเจ้าพระยาพระเสด็จสุเรนทราธิบดี (ม.ร.ว.เปียมาลากุล)  เสนาบดี กระทรวงธรรมการเป็นผู้ริเริ่ม (ขณะที่ยังเป็นพระยาวิสุทธสุริยศักดิ์) พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดงาน เหตุที่จัดงานศิลปหัตถกรรมนักเรียนก็เพื่อแนะนำชักจูงให้เด็กชายหญิง        ในสมัยนั้น เอาใจใส่ฝึกหัดศิลปะการหัตถกรรมให้เกิดความชำนาญ มีความคิดสร้างสรรค์ และเพิ่มพูนรายได้ ในการเลี้ยงชีพ
                                ครั้งที่ 2  จัดขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2456  ที่สวนมิสกวัน  พร้อมกับงานนักขัตฤกษ์กราบนมัสการ      พระพุทธชินราช  วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม  ปรากฏว่าเป็นประโยชน์ในทางการแนะนำชักจูงนักเรียน        ให้มีนิสัยรักการศิลปหัตถกรรมมากขึ้น ทั้งยังเปิดโอกาสให้ประชาชนได้เห็นงานฝีมือของคนไทย สามารถเลือกซื้อได้ตามใจชอบและเป็นเครื่องปลูกฝังให้นิยมสินค้าไทย ในงานครั้งนี้ได้มีการประกวดผลผลิตหัตถกรรมของประชาชนโดยมีรางวัลให้กับผู้ชนะการประกวดจึงสร้างความภูมิใจให้แก่ผู้แข่งขันในงานนี้
                                ครั้งที่ 3  จัดขึ้นระหว่างวันที่ 3 8 มกราคม พ.ศ.2457 ที่โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดงาน งานครั้งนี้เปิดโอกาสให้มลฑลต่างๆ ส่งของมาแสดง ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำขายเป็นสินค้าเป็นของที่ทำมาจากเรือนจำบ้าง การแสดงคราวนี้จึงเป็นการแสดงศิลปหัตถกรรมและพณิชยกรรม และน่าจะกล่าวได้ว่าเป็นจุดเริ่มต้นของงานสินค้ากรมราชทัณฑ์ ก็ว่าได้
                                นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2458  ซึ่งเป็นการจัดงานครั้งที่ 4  ก็ได้จัดเรื่อยมาเป็นประจำทุกปี จนถึง     ครั้งที่ 12 ในปี พ.ศ. 2466  หลังจากนั้นได้ว่างเว้นการจัดงานเป็นเวลาถึง 25 ปี  ซึ่งในช่วงนั้นบ้านเมืองอยู่ในสภาวะไม่ปกติ คือ  พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคต (พ.ศ.2468)  และเกิดเหตุการณ์           การเปลี่ยนแปลงการปกครองโดยคณะราษฎร์
                                ในปี พ.ศ. 2491 ได้มีการ จัดงานศิลปหัตถกรรมสหพันธ์โรงเรียนราษฎร์ โดยการนำของนายเพี้ยน สุวรรณมาลิก เจ้าของโรงเรียนนันทนศึกษา ได้รวมกลุ่มโรงเรียนราษฎร์ จัดขึ้นที่สวนอัมพร เพื่อฟื้นฟูงานศิลปหัตถกรรมที่ว่างเว้นขึ้นมาใหม่ (ระหว่างวันที่ 31 มีนาคม 6 เมษายน พ.ศ. 2491) โดยมีการออกร้านขายอาหารและการฝีมือของนักเรียน มีการแสดงตำนานทางประวัติศาสตร์การแสดงพื้นเมือง  การบริหาร และฉายภาพยนตร์ มีการประกวดลีลาส และตลาดนัดด้วย
                                ครั้งที่ 13  กระทรวงศึกษาธิการ  จึงได้ฟื้นฟูงานศิลปหัตถกรรมนักเรียนขึ้นใหม่  โดยจัดในระหว่างวันที่ 812 ธันวาคม พ.ศ. 2492 ที่ โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย งานครั้งนี้ถึงจะจัดขึ้นอย่างกระทันหัน แต่ก็มีผลงานศิลปหัตถกรรมของนักเรียนส่งมาแสดงมากมาย   ซึ่งเป็นการยืนยันว่านักเรียนให้ความสนใจในการประดิษฐ์สิ่งของเครื่องใช้และใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ รวมทั้งมีประชาชนสนใจเข้าชมงานมากมาย
                                ครั้งที่ 14  จัดงานระหว่างวันที่ 2 6 ธันวาคม พ.ศ. 2493 ที่โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย   และขยายบริเวณการจัดงานไปถึงโรงเรียนเสาวภา มีห้องแสดงศิลปหัตถกรรมของนักเรียนในภาคต่างๆ         ส่งครู อาจารย์ และนักเรียนจากหัวเมืองเข้ามาจัดแสดงจัดการละเล่นพื้นเมือง และออกร้านจำหน่ายอาหาร       มีการประกวดเรื่องศิลปะหัตถกรมมของนักเรียนและโรงเรียน เพื่อส่งเสริมวิชาการฝีมือตามหลักสูตรการจัด  ในครั้งนี้มุ่งส่งเสริมการฝีมือเพื่อเป็นอาชีพแก่นักเรียน ทั้งยังเป็นเครื่องกระตุ้นเตือนใจผู้ใหญ่ให้คิดบำรุงเด็ก  ให้คิดประดิษฐ์งานอีกด้วย
                                ครั้งที่ 15  จัดขึ้นระหว่างวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2494  บริเวณโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย โรงเรียนเสาวภา และ โรงเรียนเพาะช่าง งานครั้งนี้มี ม.ล.ปิ่น มาลากุล ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ในสมัยนั้นเป็นประธานกรรมการในการจัดงานครั้งนี้  กระทรวงศึกษาธิการได้จัดวางแนวส่งเสริมในทางหัตถศึกษาให้มากขึ้น วิธีการจึงเน้นไปในทางปฎิบัติโดยการสาธิตให้ประชาชนผู้เข้าชมในงานได้เห็นจริง
                                ครั้งที่ 16  พ.ศ.2495 จัดที่โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ในการจัดงานครั้งนี้มีการจำหน่ายบัตรผ่านประตู จึงทำให้มีรายได้ส่วนหนึ่งจากการจัดงาน และการแสดงศิลปหัตถกรรม ส่วนใหญ่เป็นงานเย็บปักถักร้อย และของใช้ทำด้วยไม้ มีกาประกวดสินค้าของนักเรียนด้วย
                                ครั้งที่ 17  จัดขึ้นระหว่างวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2496  จัดที่บริเวณโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย โรงเรียนเสาวภา  และโรงเรียนเพาะช่าง  เช่นเดิม ในครั้งนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  เสด็จ       พระราชดำเนินทรงเปิดงานในวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ.2496
                                ครั้งที่ 18   พ.ศ. 2497  จัดที่โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย มีการจัดกิจกรรมต่างๆ  ทั้งด้าน   การแสดง การประกวดผลงานของนักเรียนดังเช่นทุกครั้งที่ผ่านมา อาทิ การแสดงกลางแจ้ง การประกวดเขียนภาพด้วยพู่กันของนักเรียนประถมศึกษา เป็นต้น
                                ครั้งที่ 19  จัดขึ้นระหว่างวันที่ 2 8 ธันวาคม  พ.ศ. 2498  ที่โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย โรงเรียนเสาวภา และ โรงเรียนเพาะช่าง การจัดงานแบ่งกิจกรรมออกเป็นแผนกต่างๆ 21 แผนก เช่น แผนกศิลปหัตถกรรม แผนกวิชาการ แผนกแสดงงานประดิษฐ์ ฯลฯ เป็นต้น
                                ครั้งที่ 20  จัดขึ้นระหว่างวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2499  ณ บริเวณเดิม  กิจกรรมต่างๆ     ภายในงานคล้ายปีที่ผ่านมาที่พิเศษออกไปก็คือ มีการจำหน่ายหนังสือที่ระลึกของการจัดงาน ในราคาเล่ม       ละ3 บาท ทั้งยังแจกจ่ายไปยังสถานศึกษาและส่วนราชการทั่วราชอาณาจักร
                                ครั้งที่ 21  เนื่องจากเกิดเหตุการณ์รัฐประหาร เมื่อวันที่ 16 กันยายน พ.ศ.2500 และเกิด    การปฎิวัติเงียบเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ.2501 จึงไม่สามารถหาหลักฐานได้แน่ชัดว่าการจัดงานศิลปหัตถกรรม ครั้งที่ 21 นั้นจัดขึ้นในช่วงใด และปี พ.ศ.ใด แต่คาดว่าน่าจะเป็นปี พ.ศ. 2500
                                ครั้งที่ 22  มีการจัดงานขึ้นบริเวณโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย โรงเรียนเสาวภา และ โรงเรียนเพาะช่าง โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดงาน เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2502
                                ครั้งที่ 23  ปี พ.ศ. 2503 ได้ย้ายการจัดงานไปในบริเวณโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา และวิทยาลัยวิชาการศึกษาปทุมวัน เนื่องจากช่วงที่ผ่านมามีคนไปเที่ยวชมงานศิลปหัตถกรรมที่โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยมากขึ้น ทำให้คับแคบแออัดไม่สะดวกแก่ผู้เข้าชม
                                ครั้งที่ 24 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2504  ที่บริเวณโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา และวิทยาลัยการศึกษาปทุมวัน ในการจัดงานมีกิจกรรมต่างๆ เช่นทุกปี ที่พิเศษ คือ การนำนักเรียนไทยมุสลิมและนักศึกษาจากสถานศึกษาที่สำคัญๆ เข้ามาร่วมงาน โดยการมาออกร้าน และสาธิตการประดิษฐ์หัตถกรรมพื้นเมือง นอกจากนี้ยังมีการประกวดและการประลองเรือ  เครื่องบิน  และเครื่องร่อนขนาดเล็กที่บังคับวิทยุ  โดยได้รับความร่วมมือจากกรมช่างอากาศ
                                ครั้งที่ 25 พ.ศ.2504 จัดที่บริเวณโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดงาน ในปีนี้มีริ้วขบวนแห่ รถคำขวัญและขบวนช้างทำให้งานคึกครื้นกว่าทุกปี นอกจากจะมีกิจกรรมและศิลปหัตถกรรมอย่างทุกปีแล้ว ยังเพิ่มกิจกรรมอาสาสมัครอนุกาชาดรับดูแลเด็กเล็กๆ ที่เข้าไปชมงานกับผู้ปกครอง โดยมีกิจกรรมเล่านิทานหุ่นกระบอก และเครื่องเล่นในสนามเด็กเล่น
                                ครั้งที่ 26  จัดในเดือนธันวาคม พ.ศ.2506 จัดที่บริเวณ โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดงาน และในขณะที่เสด็จชมห้องแสดงต่างๆ ได้มีกระแสพระราชดำรัสกับ ม.ล.ปิ่น มาลากุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ให้ร่างระเบียบฯ ว่าด้วยรางวัลพระราชทานแก่นักเรียนและโรงเรียน ดังนั้นจึงมีประกาศระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยรางวัลพระราชทานแก่นักเรียนและโรงเรียน พ.ศ.2507 ลงวันที่ 28 พฤศจิกายน 2507
                                ครั้งที่ 26 จัดขึ้นระห่างวันที่ 1 7 ธันวาคม พ.ศ.2507 โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดงานในปีนี้ มีการพระราชทานรางวัลแก่นักเรียน และโรงเรียนที่มีผลงานยอดเยี่ยมหลายแห่ง เช่น โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา โรงเรียนพณิชยการพระนคร และการจัดงานครั้งนี้ มีรายการพิเศษเพิ่มจากปีก่อนคือ การแสดงการจัดโรงเรียนประถมศึกษาและการสอน นอกจากนี้ยังได้ส่งเสริมให้โรงเรียนในส่วนภูมิภาคทั้ง 12 ภาคการศึกษา มาสาธิตงานประดิษฐ์ต่าง ๆ ด้วย
                                ครั้งที่ 27 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 1 7 ธันวาคม 2508 ที่ โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดงาน แบ่งกิจกรรมออกเป็น 6 ประเภท คือ การแสดงศิลปกรรม การแสดงฝ่ายวิชาการ การแสดงกลางแจ้ง การแสดงของลูกเสือและยุวกาชาด การประกวดผลผลิตทางการเกษตรและการประกวดงานอุตสาหกรรม รวมทั้งการเข้ารับพระราชทานรางวัลพระราชทานตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการฯ พ.ศ. 2507 ด้วย
                                ครั้งที่ 28  พ.ศ. 2509 ได้ย้ายสถานที่จัดงานไปยังส่วนภูมิภาคเป็นครั้งแรก ที่บริเวณโรงเรียนอยุธยาวิทยาลัย โดยเพิ่มกิจกรรมพิเศษ คือ การนำชมโบราณสถาน การแสดงกิจกรรมช่างต่อเรือพระนครศรีอยุธยา การทัศนศึกษาและการแข่งขันตอบปัญหาต่างๆ
                                ครั้งที่ 29 พ.ศ. 2510 จัดที่บริเวณ โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดงาน และพระราชทานรางวัลแก่โรงเรียนประถมศึกษาและมัธยมศึกษาที่จัดการเรียนการสอนดีเด่น แบ่งการแสดงผลงาน ออกเป็นกลุ่มภาคการศึกษา 12 ภาคและกลุ่มโรงเรียนในสังกัดกรมการฝึกหัดครู กรมอาชีวศึกษา กรมสามัญศึกษา กรมศิลปากร
                                ครั้งที่ 30 ระหว่างวันที่ 1 5 ธันวาคม พ.ศ. 2511 ได้ย้ายมาจัดที่บริเวณกรีฑาสถานแห่งชาติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถเสด็จพระราชดำเนิน     ทรงเปิดงาน ในการจัดงานครั้งนี้มีกิจกรรมต่างๆ คือ การแสดงและจำหน่ายสิ่งของการฝีมือของนักเรียน โครงการต่างๆทางวิทยาศาสตร์ การประลอง การแสดงกิจกรรมของยุวกสิกร การละเล่นพื้นเมือง และตำนานในสนามกลางแจ้ง การแสดงของลูกเสือและอนุกาชาด การประกวดร้องเพลงและดนตรี การแสดงทางการเกษตร
                                ครั้งที่ 31 จัดขึ้นในปี พ.ศ. 2512 จัดที่ บริเวณกรีฑาสถานแห่งชาติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ พร้อมด้วยสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าสิรินธรฯ       เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดงานเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2512 โดยใช้ชื่องานว่า งานกรีฑาศิลปหัตถกรรมนักเรียน เพราะได้รวมการแข่งขันกรีฑานักเรียนประจำปีเข้ามาด้วย จุดเน้นของงานครั้งนี้ก็คือ การสอนวิชาปฏิบัติ และการอาชีวศึกษาเพื่อพัฒนาอุตสาหกรรม ในงานนี้ยังได้ยืมหินที่ มนุษย์อวกาศ ของสหรัฐอเมริกาเก็บมาจากดวงจันทร์มาร่วมแสดงในงาน และมีนักเรียนชาวต่างชาติ จากโรงเรียนนานาชาติเข้าร่วมและแข่งขันด้วย
                                ครั้งที่ 32 พ.ศ. 2513 ใช้ชื่อการจัดงานว่า งานกรีฑาศิลปหัตถกรรมนักเรียน โดยจัดในระหว่างวันที่ 2529 ธันวาคม พ.ศ. 2513 บริเวณกรีฑาสถานแห่งชาติ  การจัดครั้งนี้เป็นการฉลองปีการศึกษาระหว่างชาติมีจุดเน้นของงานว่า การศึกษาเพื่อพัฒนาประเทศ แบ่งงานออกเป็นเขตต่างๆ เช่น เขตวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี เขตคหกรรม เขตเกษตรกรรมและเขตพณิชยกรรม
                                ครั้งที่  และ ครั้งที่ 35  จัดพร้อมกับงานแข่งขันฝีมือช่าง และนิทรรศการการอาชีพแห่งชาติของคณะกรรมการพัฒนาฝีมือแรงงานแห่งชาติ  ที่บริเวณกรีฑาสถานแห่งชาติและยังมีการใช้ชื่องานเหมือน ครั้งที่ 33
                                ครั้งที่ 36  ในปี พ.ศ. 2516 ได้มีการจัดเตรียมงานกรีฑาศิลปหัตถกรรมนักเรียนเหมือนเช่นเคย แต่เนื่องจากภาวะของประเทศอยู่ในภาวะที่ไม่เหมาะสมกับการจัดงานอันเนื่องจากเหตุการณ์ 14 ตุลาคม ดังนั้น กระทรวงศึกษาธิการจึงงดการจัดงานในปีนั้นเสีย
                                ในช่วงตั้งแต่ปี พ.ศ. 2516 พ.ศ. 2525 เกิดเหตุการณ์ความวุ่นวายภายในประเทศ    เช่นเหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 การเดินขบวนประท้วง และมีการเปลี่ยนรัฐบาลกันหลายคณะ รวมทั้ง           ภัยคุกคามจากสงครามอินโดจีน จึงหยุดการจัดงานแสดงศิลปหัตถกรรมไประยะหนึ่งรวม 10 ปี ในปี พ.ศ. 2526 พ.ศ. 2527 ได้มีการรื้อฟื้นการจัดงานแสดงศิลปหัตถกรรมขึ้นมาอีก โดยจัดร่วมกับงานวันเด็กแห่งชาติ จึงไม่นับว่าเป็นการจัดครั้งที่เท่าใด
                                ครั้งที่  37 พ.ศ. 2528 ได้จัดงานศิลปหัตถกรรมขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง ที่สวนอัมพร การจัดงานครั้งนี้ยิ่งใหญ่กว้างขวางมากกว่าเดิม เพราะกรมอาชีวศึกษาเข้ามามีส่วนร่วมอย่างเต็มที่และใช้ชื่องานในการจัดว่า        งานศิลปหัตถกรรมและอาชีวศึกษา 28       โดยเน้นสาระของงานว่า การศึกษาเพื่ออาชีพ
                                ครั้งที่ 38  จัดขึ้นบริเวณสวนอัมพร ระหว่างวันที่ 11 15 มกราคม พ.ศ. 2529   โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเปิดโอกาสให้สถานศึกษาได้จัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรให้ผู้ปกครองและประชาชนได้เข้าใจ เพื่อส่งเสริมสนับสนุนการศึกษาให้เจริญก้าวหน้ายิ่งขึ้น
                                ครั้งที่ 39  จัดระหว่างวันที่ 10 14 ธันวาคม พ.ศ. 2529 บริเวณสวนอัมพร คำขวัญของการจัดงานครั้งนี้คือ การศึกษาเพื่อการมีงานทำ 
                                ครั้งที่ 40  จัดระหว่างวันที่ 10 14 ธันวาคม พ.ศ. 2530 ที่บริเวณสวนอัมพร ซึ่งในปีนี้เป็นปีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษาครบ 5 รอบ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงมีคำขวัญของงานว่า การศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพ
                                ครั้งที่ 41  จัดระหว่างวันที่ 10 14 ธันวาคม พ.ศ. 2531 บริเวณสวนอัมพรและลาน      พระบรมรูปทรงม้า โยมีคำขวัญของการจัดงานว่า การศึกษาเพื่อพลเมืองดี และเนื่องจากปี พ.ศ. 2531     ถึง พ.ศ. 2532 เป็นปีศิลปหัตถกรรมไทย ดังนั้น จึงมีการพระราชทานโล่เชิดชูเกียรติ ให้แก่นักเรียนที่เคยชนะการประกวดศิลปหัตถกรรมระหว่างประเทศด้วย
                                ครั้งที่ 42   จัดระหว่างวันที่ 23 27 ธันวาคม พ.ศ. 2532 ณ สนามกีฬาแห่งชาติ    มีคำขวัญของงานว่า การศึกษาเพื่อการเป็นนิกส์ งานนี้มีสิ่งประดิษฐ์หลายอย่างมาแสดง เช่น เครื่องทอเสื่อ การรับสัญญาณดาวเทียม และมีการประกวดสิ่งประดิษฐ์ของคนรุ่นใหม่
                                ครั้งที่ 43  จัดเมื่อ พ.ศ. 2533  ที่บริเวณสนามกีฬาแห่งชาติ  คำขวัญของงานคือ การศึกษายุคไฮเทค        
                                ครั้งที่ 44  จัดเมื่อปีการศึกษา 2534 เป็นการจัดงานครั้งพิเศษ เนื่องในปีเฉลิมฉลอง 100 ปี กระทรวงศึกษาธิการ และมีการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ คือ เริ่มจัดงานกระจายไปทุกภาคทั่วประเทศ เพื่อเป็นการกระจายโอกาสให้เยาวชนในส่วนภูมิภาค ได้มีโอกาสเข้าชมงานอย่างกว้างขวาง โดยใช้ชื่องานว่า งานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ฉลอง 100 ปี กระทรวงศึกษาธิการ โดยให้ทุกกรมในกระทรวงศึกษาธิการเข้าร่วมกันจัดงาน มีการจัดงานเป็น 5 ภูมิภาค ดังนี้
                                1. ภาคเหนือ จัดที่จังหวัดเชียงใหม่ เขตการศึกษา 7 ระหว่างวันที่ 1113 ธันวาคม พ.ศ. 2534
                                2. ภาคกลาง จัดที่กรีฑาสถานแห่งชาติ กรุงเทพมหานคร ระหว่างวันที่ 31 มีนาคม 2 เมษายน พ.ศ. 2535
                                3. ภาคตะวันออก จัดที่จังหวัดจันทบุรี เขตการศึกษา 12 ระหว่างวันที่ 1012 มกราคม        พ.ศ. 2535
                                4. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จัดที่จังหวัดนครราชสีมา เขตการศึกษา 11 ระหว่างวันที่ 2830 พฤศจิกายน พ.ศ. 2534
                                5. ภาคใต้ จัดที่อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา เขตการศึกษา 3 ระหว่างวันที่ 1315 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2535
                                นับตั้งแต่ปีการศึกษา 2535 เป็นต้นมา ได้แบ่งการจัดงานเป็น  4 ภูมิภาค ใช้ชื่อ                         “ งานศิลปหัตถกรรมนักเรียน  เช่นเดิม
                                ครั้งที่ 45  จัดขึ้นเมื่อปีการศึกษา 2535 ใน 4 ภูมิภาค ดังนี้
1. ภาคเหนือ จัดที่จังหวัดนครสวรรค์ (เขตการศึกษา 7 และ 8) ระหว่างวันที่ 30 พฤศจิกายน 2 ธันวาคม พ.ศ. 2535
2. ภาคกลางและภาคตะวันออก จัดที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา (เขตการศึกษา 1,5,6 และ 12) ระหว่างวันที่ 21 23 ธันวาคม พ.ศ. 2535
3. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จัดที่จังหวัดอุบลราชธานี (เขตการศึกษา 9,10 และ 11)  ระหว่างวันที่ 9 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2535
4. ภาคใต้ จัดที่จังหวัด (เขตการศึกษา 2,3 และ 4)  ระหว่างวันที่ 1 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2536
                                ครั้งที่ 46  จัดขึ้นเมื่อปีการศึกษา  2536  ใน  4  ภูมิภาค  เช่นเดียวกับ  ครั้งที่ 45 ดังนี้
1. ภาคเหนือ จัดที่จังหวัดเชียงราย เขตการศึกษา 8 ระหว่างวันที่ 27 29 ธันวาคม พ.ศ. 2536
2. ภาคกลางและภาคตะวันออก จัดที่จังหวัดนครปฐม เขตการศึกษา 1 ระหว่างวันที่ 16 18 ธันวาคม พ.ศ. 2536
3. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จัดที่จังหวัดอุดรธานี เขตการศึกษา 9 ระหว่างวันที่ 9 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2536
4. ภาคใต้  จัดที่จังหวัดพัทลุง  เขตการศึกษา  3  ระหว่างวันที่ 8 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2537
      ครั้งที่ 47  ประจำปีการศึกษา 2537  มีการจัดงานใน 4 ภูมิภาค ดังนี้
            1. ภาคเหนือ จัดที่จังหวัดสุโขทัย เขตการศึกษา 7  ระหว่างวันที่ 911 มกราคม พ.ศ. 2538
            2. ภาคกลางและภาคตะวันออก จัดที่จังหวัดสุพรรณบุรี เขตการศึกษา 5 ระหว่างวันที่ 911
กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2538
            3. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  จัดที่จังหวัดสุรินทร์  เขตการศึกษา 11  ระหว่าง วันที่  79
ธันวาคม พ.ศ. 2537
            4. ภาคใต้  จัดที่จังหวัดภูเก็ต เขตการศึกษา 4  ระหว่างวันที่ 1416 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2538
                                ครั้งที่ 48  จัดขั้นในปีการศึกษา 2538 แบ่งการจัดงานออกเป็น 4 ภาค ดังนี้
                                1. ภาคเหนือ  จัดที่สนามกีฬากลางจังหวัดลำปาง  เขตการศึกษา 8  ระหว่างวันที่ 1416 มกราคม พ.ศ. 2539
                                2. ภาคกลางและภาคตะวันออก จัดที่จังหวัดปราจีนบุรี เขตการศึกษา 12 ระหว่างวันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2539
                                3. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  จัดที่จังหวัดขอนแก่น  เขตการศึกษา 9  ระหว่างวันที่ 5 7 มกราคม พ.ศ. 2539
                                4. ภาคใต้   จัดที่จังหวัดยะลา  เขตการศึกษา 2 ระหว่างวันที่  1113 มกราคม พ.ศ. 2539
                                ครั้งที่ 49  จัดเมื่อปีการศึกษา 2539  ได้เพิ่มการจัดงานในส่วนกลาง ที่กรุงเทพมหานคร        โดยจัดงานศิลปหัตถกรรมนักเรียนร่วมกับงานแสดงการปฏิรูปการศึกษา ที่บริเวณหน้ากระทรวงศึกษาธิการ ระหว่างวันที่ 1-5 เมษายน พ.ศ. 2540 และจัดงานตามภาคต่างๆ ทั้ง 4 ภาค ดังนี้
                                1. ภาคเหนือ  จัดที่สนามกีฬากลางจังหวัดพิษณุโลกเขตการศึกษา 7  ระหว่าง วันที่ 810 ธันวาคม พ.ศ. 2539
                                2. ภาคกลางและภาคตะวันออก จัดที่จังหวัดปทุมธานี เขตการศึกษา 1 ระหว่างวันที่ 68 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2540
                                3. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จัดที่จังหวัดนครพนม เขตการศึกษา 10 ระหว่างวันที่ 2224 มกราคม พ.ศ. 2540
                                4. ภาคใต้ จัดที่จังหวัดนครศรีธรรมราช เขตการศึกษา 3 ระหว่างวันที่ 1113 มกราคม        พ.ศ. 2540
                                ครั้งที่ 50 จัดเมื่อปีการศึกษา 2540 แบ่งการจัดงานออกเป็น 4 ภูมิภาค ดังนี้
                                1. ภาคเหนือ (เขตการศึกษา 7,8) จัดที่สนามกีฬาจังหวัดแพร่ เขตการศึกษา 8 ระหว่าง        วันที่ 27 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540
                                2. ภาคกลางและภาคตะวันออก (เขตการศึกษา 1,5,6,12) จัดที่จังหวัดลพบุรี เขตการศึกษา 6   ระหว่างวันที่ 2325 มกราคม พ.ศ. 2541
                                3. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (เขตการศึกษา 9,10,11) จัดที่จังหวัดบุรีรัมย์  เขตการศึกษา 11  ระหว่าง  วันที่ 2628 มกราคม พ.ศ. 2541
                                4. ภาคใต้   (เขตการศึกษา 2,3,4)  จัดที่จังหวัดระนอง  เขตการศึกษา 4  ระหว่างวันที่ 810 มกราคม พ.ศ. 2541
                                ครั้งที่ 51 จัดเมื่อปีการศึกษา 2541 ได้กำหนดจัดงานเป็น 4 ภูมิภาค คือ
                                1. ภาคเหนือ  (เขตการศึกษา 7,8) จัดที่จังหวัดอุตรดิตถ์ เขตการศึกษา 7 ระหว่างวันที่ 3 5กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542
                                2. ภาคกลางและภาคตะวันออก (เขตการศึกษา 1,5,6,12) จัดที่จังหวัดเพชรบุรี  เขตการศึกษา 5 ระหว่างวันที่ 30 มกราคม 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542
                                3. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (เขตการศึกษา 9,10,11) จัดที่จังหวัดร้อยเอ็ด   เขตการศึกษา   10    ระหว่างวันที่ 5 7 มีนาคม พ.ศ. 2542
                                4. ภาคใต้     (เขตการศึกษา 2,3,4) จัดที่จังหวัดสตูล    เขตการศึกษา  2  ระหว่างวันที่ 21 23 มกราคม พ.ศ. 2542
                                ครั้งที่ 52  จัดเมื่อปีการศึกษา 2542 ได้กำหนดจัดงานเป็น 4 ภูมิภาค คือ
                               1. ภาคใต้     (เขตการศึกษา 2,3,4) จัดที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี ระหว่างวันที่ 12 14 มกราคม พ.ศ. 2543
                                2. ภาคเหนือ  (เขตการศึกษา 7,8) จัดที่จังหวัดลำพูน ระหว่างวันที่ 12 14 มกราคม พ.ศ. 2543
                                3. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (เขตการศึกษา 9,10,11) จัดที่จังหวัดหนองคาย  ระหว่างวันที่ 26 28 มกราคม พ.ศ. 2543
                                4. ภาคกลางและภาคตะวันออก (เขตการศึกษา 1,5,6,12) จัดที่จังหวัดชลบุรี ระหว่างวันที่ 28-30 มกราคม พ.ศ. 2543
                                ครั้งที่ 53  จัดเมื่อปีการศึกษา 2543 ได้กำหนดจัดงานเป็น 4 ภาค คือ
                                1. ภาคเหนือ  จัดที่จังหวัดเพชรบูรณ์  ระหว่างวันที่ 20-22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543
                                2. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จัดที่จังหวัดชัยภูมิ ระหว่างวันที่ 4-9 มกราคม พ.ศ. 2544
                               3. ภาคใต้   จัดที่จังหวัดพังงา ระหว่างวันที่ 18 20 มกราคม พ.ศ. 2544
                                4. ภาคกลางและภาคตะวันออก จัดที่จังหวัดสมุทรสาคร ระหว่างวันที่ 24-26 มกราคม        พ.ศ. 2544
                                ครั้งที่ 54 จัดขึ้นในปี พ.ศ.2544  ได้กำหนดจัดงาน 4 ภูมิภาค คือ
                                1. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จัดที่จังหวัดมหาสารคาม ระหว่างวันที่ 7-9 มกราคม พ.ศ. 2545
                                2. ภาคเหนือ  จัดที่จังหวัดเชียงใหม่  ระหว่างวันที่ 11-13 มกราคม พ.ศ. 2545
                               3. ภาคใต้   จัดที่จังหวัดปัตตานี ระหว่างวันที่ 22 24 มกราคม พ.ศ. 2545
                                4. ภาคกลางและภาคตะวันออก จัดที่จังหวัดสระบุรี  ระหว่างวันที่ 26-28 มกราคม  พ.ศ. 2545

                                ครั้งที่ 55  จัดขึ้นเมื่อปีการศึกษา 2545 ได้กำหนดจัดงานเป็น 4 ภูมิภาค คือ
                                1. ภาคเหนือ  จัดที่จังหวัดกำแพงเพชร  ระหว่างวันที่ 9-11 มกราคม พ.ศ. 2546
                               2. ภาคใต้   จัดที่จังหวัดสงขลา ระหว่างวันที่ 12 14 มกราคม พ.ศ. 2546
                                3. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จัดที่จังหวัดสกลนคร ระหว่างวันที่ 27-29 มกราคม พ.ศ. 2546
                                4. ภาคกลางและภาคตะวันออก จัดที่จังหวัดสุพรรณบุรี ระหว่างวันที่ 10-12 กุมภาพันธ์      พ.ศ. 2546
                                ครั้งที่ 56  จัดขึ้นเมื่อปีการศึกษา 2547 มีการจัดงานศิลปหัตถกรรมนักเรียนทั้ง 4 ภูมิภาค แต่หลังจากนั้น งานศิลปหัตถกรรมก็ได้หยุดชะงักไป หลังจากที่มีการปฏิรูปการศึกษาและมีการยุบรวม  หลายหน่วยงานเข้าด้วยกันเป็นสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้แก่ สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ กรมสามัญศึกษาและกรมวิชาการ
                              ในปี พ.ศ. 2548 สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ได้ส่งมอบการจัดงานศิลปหัตถกรรมนักเรียนแก่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นผู้รับผิดชอบการจัดงาน
                                ครั้งที่ 57 จัดเมื่อปีการศึกษา 2550 งานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ได้เริ่มฟื้นฟูอีกครั้งหนึ่ง               ได้กำหนดจัดงานเป็น 4 ภูมิภาค คือ
1.  ภาคใต้ ระหว่างวันที่ 11-13 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 ณ จังหวัดสุราษฎร์ธานี
2.   ภาคกลางและภาคตะวันออก ระหว่างวันที่ 31 กรกฎาคม - 2 สิงหาคม พ.ศ. 2550
ณ จังหวัดชลบุรี
3.   ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ระหว่างวันที่ 2-4 สิงหาคม พ.ศ. 2550 ณ จังหวัดขอนแก่น
4.   ภาคเหนือ ระหว่างวันที่ 8-10 สิงหาคม พ.ศ. 2550 ณ จังหวัดพิษณุโลก
ครั้งที่ 58  สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน    ได้สนองเจตนารมณ์ในการพัฒนานักเรียนและครูผู้สอน ในขณะเดียวกัน จึงได้จัดกิจกรรมส่งเสริมความรู้ ทักษะ และพัฒนาศักยภาพของนักเรียน นักศึกษา เยาวชน ตลอดจนครูและบุคลากรทางการศึกษา ให้มีโอกาสนำความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์ และทักษะการสร้างสิ่งประดิษฐ์ จัดงานศิลปหัตถกรรม ประจำปีการศึกษา 2551  ขึ้น โดยได้กำหนดการจัดงานออกเป็น 4  ภูมิภาค  
ครั้งที่ 59  สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน    จึงได้จัดกิจกรรมส่งเสริมความรู้ ทักษะ และพัฒนาศักยภาพของนักเรียน นักศึกษา เยาวชน ตลอดจนครูและบุคลากรทางการศึกษา ให้มีโอกาสนำความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์ และทักษะการสร้างสิ่งประดิษฐ์ จัดงานศิลปหัตถกรรม ประจำปีการศึกษา 2552  ขึ้น โดยได้กำหนดการจัดงานออกเป็น 4  ภูมิภาค 
ครั้งนี้ เป็นครั้งที่ 60  สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน    จึงได้จัดกิจกรรมส่งเสริมความรู้ ทักษะ และพัฒนาศักยภาพของนักเรียน นักศึกษา เยาวชน ตลอดจนครูและบุคลากรทางการศึกษา ให้มีโอกาสนำความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์ และทักษะการสร้างสิ่งประดิษฐ์ จัดงานศิลปหัตถกรรม ประจำปีการศึกษา 2553 
 ครั้งนี้ เป็นครั้งที่ 61  สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน    จึงได้จัดกิจกรรมส่งเสริมความรู้ ทักษะ และพัฒนาศักยภาพของนักเรียน นักศึกษา เยาวชน ตลอดจนครูและบุคลากรทางการศึกษา ให้มีโอกาสนำความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์ และทักษะการสร้างสิ่งประดิษฐ์ จัดงานศิลปหัตถกรรม ประจำปีการศึกษา 2554



ไม่มีความคิดเห็น: